วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เหตุที่จำนวนลดในโรงเรียนรัฐบาล

เคยสงสัยหรือไม่ว่า........ทำไมจำนวนนักเรียน ในโรงเรียนรัฐบาลหลายแห่งจึงลดลงทุกปี
ทั้งๆ ที่ครูผู้สอนและผู้บริหารต่างก็ได้วิทยะฐานะ ชำนาญการพิเศษกันเกือบทั้งโรงเรียน.......
แต่จำนวนเด็กกับลดลงไปเรื่อย ๆ ....................................อัตราการเกิดที่ลดลง คงเป็นเพียงคำตอบหนึ่งเท่านั้น
เพราะ ใน มุมกลับกัน ............โรงเรียนเอกชนในจังหวัดกับก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทุกปี
หรือเป็น เพราะ ผู้ปกครองไม่ชอบของฟรี..............ชอบเสียตังค์หรืออย่างไร
ทุก ๆ วันรถรับส่งนักเรียน ก็ขับผ่านโรงเรียนรัฐเพื่อขนนักเรียนไปเรียนโรงเรียนเอกชนในเมือง ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยม
วันละหลายคันรถ นักเรียนต้องตื่นแต่เช้าเพื่อเข้าเรียนในเมือง
ลูกครูบาอาจารย์หลายคนเข้าไปเรียนในโรงเรียนเอกชนชื่อดังกันหมด.....บางคนส่งลูกเรียนข้ามจังหวัด
..... กลับกันโรงเรียนประถมหลายแห่งกำลังจะถูกยุบรวม...............เพราะนักเรียนน้อย.............
คิดอย่างไร.................................................ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไรกัน

ครูได้สิทธิ สอบผู้ช่วยผู้พิพากษา

วิชาชีพครูสอบ ควรมีสิทธิสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา

สงสัยว่าทำไมวิชาชีพอื่นๆ ที่มีกฎหมายรองรับมีหรือได้สิทธิ สอบผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ เช่น ล่าสุด นักเทคนิคการแพทย์ ก็ได้สิทธิแล้ว แต่ครูทำไมครูถึงไม่ได้สิทธินี้..................ทั้งที่ครูก็น่าจะเทียบเคียงกับวิชาชีพเหล่านี้ได้

ผมว่าจะทำหนังสือขอสิทธิบ้างแต่ยังไม่จบเนติฯ หรอก .............เลยรอไว้ก่อน

จริงๆ แล้ว ควรจะเป็นหน้าที่ใครกัน......ที่ต้องดูแลสิทธิเหล่านี้ให้แก่คุณครู..........................................


ดูเรื่องจริงตามนี้เถอะ...............

20 ก.พ. 2010 11:39น.

คณะ กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ได้ออกระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา(ฉบับที่ ๖)พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เทคนิคการแพทย์มีสิทธิสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาได้

ตามที่ ทนพ.บพิธ สรสิทธิ์ นักเทคนิคการแพทย์ สังกัดโรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร ซึ่งสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) นิติศาสตรบัณฑิต เนติบัณฑิตไทย นิติศาสตรมหาบัณฑิต ได้แสดงความประสงค์ ขอสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา แต่ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ไม่เปิดช่องให้เทคนิคการแพทย์เข้าสอบได้ โดย ทนพ.บพิธ ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังประธานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 และคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (กต.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเกี่ยวกับ การสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาตามที่คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ฯ เสนอ ตามข่าวที่ "เมดเทคทูเดย์" นำเสนอไปแล้วนั้น

ล่าสุด ทนพ.บพิธ สรสิทธิ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ได้ออกระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา(ฉบับที่ ๖)พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาหน้า ๓๖ เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๐ ก ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ความว่า "โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาให้เหมาะสมยิ่ง ขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคสอง วรรคสาม และมาตรา ๓๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาพ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


"ข้อ ๑๑ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การสัตวแพทย์ การพยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ วิศวกรรมสถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ตามเงื่อนไขในข้อ ๑๔ มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี"


ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑๒ แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


"ข้อ ๑๒ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาลศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การสัตวแพทย์ การพยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี"


ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑๓ แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


"ข้อ ๑๓ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรมเภสัชกรรม การสัตวแพทย์ การพยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ การพยาบาล วิศวกรรมสถาปัตยกรรม หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจะต้องมีหนังสือรับรอง ของผู้บังคับบัญชามาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่ กำหนดท้ายระเบียบนี้"

ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๑๙ แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้เป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้ พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบข้อเขียนที่คณะ กรรมการทดสอบความรู้ประกาศไว้โดยเคร่งครัด และให้ประธานกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตาม วันที่สอบ โดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง"


ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงชื่อ สบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม